ระบบ ERP On Cloud กับ ERP On-Premise ต่างกันอย่างไร? แบบไหนเหมาะกับองค์กรของคุณ?

ระบบ ERP On Cloud คืออะไร

Software สำหรับการจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning) ที่ติดตั้งและใช้งานบน Server ของผู้ให้บริการ Cloud Server สามารถเข้าถึงและใช้งานระบบ ERP ได้ผ่านอินเทอร์เน็ตจากทุกที่ทุกเวลา

ระบบ ERP On-Premise คืออะไร

Software สำหรับการจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning) ที่ติดตั้งและใช้งานบน Server ภายในองค์กร จำกัดการใช้งานเฉพาะในองค์กรเท่านั้น หากต้องการเชื่อมต่อจากภายนอกจะซับซ้อนต้องมีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบ, Hardware และ Network ภายในตลอด

ความแตกต่างระหว่างระบบ ERP On Cloud และ ERP On-Premise

1. การติดตั้ง

ระบบ ERP On Cloud:

  • ติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ (Cloud Server)
  • ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบได้ผ่านอินเทอร์เน็ตจากทุกที่ทุกเวลา
  • ไม่ต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์

ระบบ ERP On-premise:

  • ติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ในองค์กร
  • การเข้าถึงระบบมักจำกัดอยู่ในเครือข่ายภายใน (แต่สามารถตั้งค่าการเข้าถึงจากภายนอกได้)
  • ต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์และพื้นที่จัดวางเซิร์ฟเวอร์

2. ค่าใช้จ่ายเริ่มต้น

ระบบ ERP On-premise มีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นสูงกว่า เพราะต้องซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์และลงทุนในฮาร์ดแวร์ เช่น เซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค ขณะที่ ERP On Cloud จะเสียเพียงค่า Subscription และการติดตั้งระบบเพียงครั้งเดียว ทำให้ต้นทุนเริ่มต้นต่ำกว่า

3. ค่าใช้จ่ายรายเดือนหรือรายปี

ระบบ ERP On Cloud มีค่า Subscription แบบรายเดือนหรือรายปีที่รวมค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและอัปเกรดระบบเข้าไปด้วย ขณะที่ ERP แบบ On-premise ต้องจ่ายค่า Maintenance และค่าบำรุงรักษาแยกต่างหาก ซึ่งอาจทำให้ค่าใช้จ่ายในระยะยาวสูงกว่า

4. การปรับแต่งและการขยายระบบ

ระบบ ERP On-premise สามารถปรับแต่งได้อย่างอิสระตามความต้องการขององค์กร แต่ต้องลงทุนเพิ่มในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ขณะที่ ERP On Cloud อาจมีข้อจำกัดในการปรับแต่งตามความต้องการเฉพาะ แต่ยืดหยุ่นและขยายการใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วกว่า เช่น การเพิ่มจำนวนผู้ใช้งาน, เพิ่ม Module, สาขา และ คลัง เป็นต้น

5. การบำรุงรักษาและการอัปเดต

ระบบ ERP On Cloud มีข้อดีในด้านการการอัปเดตซอฟต์แวร์, อัปเกรดระบบและการดูแลรักษาที่สะดวก เพราะผู้ให้บริการจะจัดการให้ทั้งหมด ในขณะที่ ERP On-premise ต้องมีทีมงานภายในหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนนี้

6. ความปลอดภัยของข้อมูล

ระบบ ERP On-premise มีข้อดีในการควบคุมข้อมูลได้เองทั้งหมด แต่ต้องเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยภายในเอง ขณะที่ ERP On Cloud มีผู้ให้บริการช่วยดูแลระบบความปลอดภัยระดับสูง เช่น การเข้ารหัสข้อมูล แต่องค์กรอาจไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด

7. การเริ่มใช้งาน

ERP On Cloud:

  • เริ่มต้นใช้งานได้รวดเร็ว เนื่องจากไม่ต้องติดตั้งฮาร์ดแวร์
  • เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการความคล่องตัว

 ERP On-premise:

  • ต้องใช้เวลาในการติดตั้งฮาร์ดแวร์และระบบ
  • เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีข้อกำหนดเฉพาะหรือเน้นการควบคุมระบบเอง

การใช้ระบบ ERP ต้องลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องเตรียมตัว

การลงทุนในระบบ ERP มีค่าใช้จ่ายหลายส่วนที่ควรพิจารณา เนื่องจากระบบ ERP เป็นระบบที่ซับซ้อนและต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ การใช้งาน และการบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถแตกต่างกันได้ตามลักษณะของการใช้งาน ทั้งแบบ ERP On-premise (ติดตั้งในองค์กร) และ ERP On Cloud (ใช้งานผ่านระบบคลาวด์) ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีและค่าใช้จ่ายที่ต่างกันออกไป ดังนั้นในบทความนี้จะแสดงรายการค่าใช้จ่ายและความแตกต่างระหว่างโปรแกรม ERP ทั้ง 2 แบบ

ประเภทค่าใช้จ่ายระบบ ERP On Cloudระบบ ERP On-premise
ค่าใช้จ่ายเริ่มต้น (Initial Setup)ประมาณ 100,000 – 500,000 บาทประมาณ 500,000 – 2,000,000 บาท
ค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะใช้เป็นแบบ Subscription300,000 – 1,500,000 บาท ต่อการใช้งาน (ขึ้นอยู่กับขนาดระบบและผู้ใช้งาน)
ค่าเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพราะมีการใช้งานผ่านคลาวด์ของผู้ให้บริการ200,000 – 500,000 บาท (ซื้อขาด)
ค่าการติดตั้งและปรับแต่งระบบ50,000 – 200,000 บาท200,000 – 500,000 บาท
ค่าฝึกอบรมพนักงาน20,000 – 50,000 บาท ต่อรอบการอบรม50,000 – 100,000 บาท ต่อรอบการอบรม
ค่าใช้จ่ายรายเดือน (Recurring Costs)  
ค่าสิทธิการใช้งานรายปีใช้เป็นแบบ Subscription ประมาณ 10,000 – 50,000 บาท ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้งาน50,000 – 100,000 บาทต่อปี
ค่า Maintenance และการบำรุงรักษารวมอยู่ในค่า Subscription รายเดือนแล้ว100,000 – 200,000 บาทต่อปี
ค่าอัปเกรดซอฟต์แวร์ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ผู้ให้บริการจะดูแลให้ทั้งหมด50,000 – 100,000 บาท ต่อปี
รวมค่าใช้จ่ายในระยะยาว (5 ปี)ประมาณ 600,000 – 3,000,000 บาทประมาณ 2,000,000 – 5,000,000 บาท

สรุป

สำหรับธุรกิจที่ต้องการใช้ ระบบ ERP แต่ต้องการควบคุมต้นทุนในระยะยาว ระบบ ERP On Cloud อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายเริ่มต้นได้มาก และมีการดูแลระบบอย่างต่อเนื่อง ส่วน ERP On-premise จะเหมาะกับองค์กรที่มีความต้องการเฉพาะด้าน หรือองค์กรที่มีผู้เชี่ยวชาญสามารถจัดการระบบและทรัพยากรภายในได้

Scroll to Top